Cluster อวัยวะเพื่อชีวิต
จากหนังสือร้อยคำที่ควรรู้ คำว่า Cluster มาจากคำว่า Industry Clusters เป็นกลุ่มการประกอบธุรกิจที่ทั้งแข่งขันกัน ร่วมมือกัน และเป็นอิสระจากกันแต่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน เช่น นิคมอุตสาหกรรมการผลิต เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องหนัง หรือ นิคมการผลิตคอมพิวเตอร์ที่ ซิลิคอน วัลเลย์ ในสหรัฐอเมริกา
และถ้าเป็น คลัสเตอร์ของวิสาหกิจชุมชน คือ กลุ่มกิจกกรมของชุมชน ซึ่งสัมพันธ์และเกื้อกูลกัน และก่อให้เกิด พลังผนึกทวีคูณ (Synergy) เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน เลี้ยงปลา เลี้ยงไก เลี้ยงหมู ปลูกผักและพืชต่างๆ ไม้ผล สมุนไพร โดยกิจกรรมต่างเกื้อกูลกัน สามารถเอามูลสัตว์ไปเป็นปุ๋ยให้พืชผักต่างๆ โดยการเกื้อกูลกันจึงเปรียบเหมือนแต่ละกิจกกรรมคืออวัยวะของร่างกายมนุษย์ที่จะทำให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างยาวนาน
กลุ่มกิจกรรมของ เครือข่ายศูนย์เรียนรู้ ม.ชีวิต นครขอนแก่น ได้แก่ ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง เนื้อที่ 20 ไร่, กลุ่มออมทรัพย์, กลุ่มกองทุนวิสาหกิจชุมชน, กลุ่มน้ำสมุนไพรฯ และกลุ่มน้ำปลาฯ
กลุ่มออมทรัพย์จะมีการออมเงินเพื่อใช้เป็นทุนการศึกษา ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ สาธิตกิจกรรมทางการเกษตรและแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ปัญหาของศูนย์คือ นักศึกษามีภาระกิจของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นงานประจำหรือกิจกกรรมในชุมชนของตนเอง ทำให้กิจกรรมของศูนย์ฯ ที่มีไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง เดิมทีกิจกรรมการผลิตสินค้าต่างๆ จะทำโดยกลุ่มกองทุนวิสาหกิจฯ ซึ่งมีเงินทุนไม่มากเพียงประมาณ 15,000 บาท โดยเงินทุนได้มาจากการร่วมหุ้นของนักศึกษา การจำหน่ายสินค้าต่างๆ และเงินสนับสนุนจากผู้บริหารศูนย์ หลายๆ ครั้งในการจัดจำหน่ายสินค้าเราก็ขาดทุน เพราะการจัดการไม่ดีพอ จึงทำให้นักศึกษาที่ทำน้ำสมุนไพรต้องการที่จะบริหารกลุ่มเองด้วยเงินทุนส่วนตัว โดยกองทุนวิสาหกิจเป็นผู้สนับสนุนและเป็นหุ้นส่วนของกลุ่มด้วย แล้วหลังจากนั้นก็เกิดกลุ่มน้ำปลาเพื่อชีวิต ที่ตั้งขึ้นใหม่โดยนักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่ง และกลุ่มกองทุนก็เป็นหุ้นส่วนเช่นกัน
ด้วยทางแก้ปัญหาด้วยรูปแบบนี้จึงมีลักษณะคล้ายแนวคิด Cluster แต่เป็น Cluster ขนาดเล็ก ในองค์กรขนาดเล็ก ที่มีสมาชิกเพียง 40 คน คือเล็กกว่า คลัสเตอร์วิสาหกิจชุมชน อาจจะเรียกได้ว่า Mini Clusters of Organization ซึ่งนักศึกษาเป็นผู้เลือกเองว่าตนเองสนใจในกิจกรรมใด และถ้าแนวทางนี้เป็นแนวทางที่เหมาะสมกับศูนย์ฯ ก็จะมีการผลักดันให้เกิด Cluster ย่อยๆ แบบนี้ให้เกิดเพิ่มขึ้น
ซึ่งกลุ่มน้ำปลาฯ มีความรู้ในการผลิตสินค้าอื่นๆ ได้อีก เช่น ไส้อั่ว แค็บหมู ไส้กรอก แหนมหมู แหนมเนื้อ เนื้อแดดเดียว ไข่เค็ม ไวน์แตงโม ฯลฯ ถ้าทางกลุ่มน้ำปลาฯ ทำไม่ได้ทั้งหมดก็จะมีการถ่ายทอดให้เพื่อนนักศึกษากลุ่มอื่นได้นำไปผลิตต่อไป และในขณะนี้กลุ่มน้ำปลาฯ กำลังหาโอ่งหรือไหที่จะนำมาหมักทำน้ำปลากันอยู่ เพราะเพิ่งจะตั้งกลุ่มขึ้นเมื่อวานนี้เอง
และในหนังสือ ‘กองทุนหมู่บ้าน’ หมู่บ้านแห่งหนึ่งมีกองทุนเพื่อกิจกรรมต่างๆ กว่า 80 กองทุน เช่น กองทุนสังกะสี กองทุนปุ๋ย กองทุนการศึกษา ฯลฯ ซึ่งเป็นโมเดิลต้นแบบตัวอย่างที่น่าจะนำมาประยุกต์ใช้กับชุมชนต่างๆ
By LU KK
Based on LIFE
--- ร้อยคำที่ควรรู้
--- พลังผนึกและชิ้นส่วนภาพ
--- กองทุนหมู่บ้าน