มหาวิทยาลัยชีวิต คือ โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ในหลักสูตรอุดมศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ ทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ภายใต้ชื่อ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน โดยการบริหารจัดการของ มูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (สสวช.) ซึ่งมีภาคีที่ให้การสนับสนุนหลายภาคคี ได้แก่ ปตท. ธกส. มูลนิธิหมู่บ้าน และ สวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) โดยมี รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ เป็นผู้อำนวยการ
----สสวช. http://www.ceithai.com/
----สสวช. http://www.ceithai.com/
ที่เป็นหลักสูตรผู้ใหญ่ เพราะประชากรวัยทำงานของประเทศเรา จบปริญญาตรีเพียง 12% เท่านั้นเอง จากผู้จบ ม.6 จำนวน 13.8 ล้านคน (ในอังกฤษจบ 60%) จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักสูตรสำหรับคนวัยแรงงาน เพื่อให้ความรู้กับประชากรกลุ่มนี้ ที่เป็นกำลังสำคัญของชาติ
ที่ต้องใช้ชื่อ มหาวิยาลัยชีวิต เพราะต้องการให้ง่ายในการประชาสัมพันธ์ กับหลักสูตรที่มีต้นแบบมาจาก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเรียนโดยเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เรียนเพียงเพื่อสอบผ่าน แต่เรียนเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น เปลี่ยนแปลงชุมชนและสังคมของตนเอง เพื่อเป็นสังคมที่เข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ ช่วยคนอื่นได้
ที่ต้องใช้ชื่อ มหาวิยาลัยชีวิต เพราะต้องการให้ง่ายในการประชาสัมพันธ์ กับหลักสูตรที่มีต้นแบบมาจาก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเรียนโดยเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เรียนเพียงเพื่อสอบผ่าน แต่เรียนเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น เปลี่ยนแปลงชุมชนและสังคมของตนเอง เพื่อเป็นสังคมที่เข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ ช่วยคนอื่นได้
หลักสูตรของมหาวิทยาลัยชีวิต มีผู้สำเร็จการศึกษาไปแล้วประมาณ 3,000 คน โดยความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง สสวช. กับ สถานศึกษาหลายแห่ง ด้วยการประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง สสวช. จึงต้องการที่จะมีมหาวิทยาลัยเป็นของตนเอง เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามแนวทางที่ต้องการ จึงได้จัดตั้ง สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ขึ่นมา ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.บางคนที อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม (อยู่ติดกับ อ.อัมพวา)
ด้วยแนวคิดนอกกรอบ ทำให้ มหาวิทยาลัยชีวิต อยู่ที่ใดก็ได้ ที่มีผู้ต้องการเรียน ณ วันนี้ จึงมี ศูนย์เรียนรู้ ม.ชีวิต อยู่ทั่วประเทศ 112 ศูนย์ โดยใช้ห้องเรียนในพื้นที่ที่ตั้งศูนย์ฯ เช่น อบต. เทศบาล อนามัย สาธารณะสุข วัด โรงเรียน ศาลากลางบ้าน สุดแล้วแต่ว่า หน่วยงานใดจะเป็นผู้รับในการดำเนินการ
สำหรับศูนย์เรียนรู้นครขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น เราใช้ ศูนย์แพทย์ชาตะผดุง ซึ่งอยู่ใน โรงเรียนเทศบาลโนนทัน โดยมีสาขาสุขภาพชุมชน ที่พร้อมเปิดภาคเรียน กับนักศึกษาประมาณ 40-50 คน
ส่วนสาขาอื่น ได้แก่ สาขาสหวิทยาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชุมชน และหลักสูตรปริญญาโท ได้เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันเปิดภาคเรียนในเดือน ตุลาคม 2553 ที่จะถึงนี้
ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ตามที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ 083-144-6998 หรือติดต่อทางแบบฟอร์มด้านขวามือ ครับ
สาขาสุขภาพชุมชน เหมาะกับผู้ทำงานด้านสาธารณสุข หรือ อสม. และผู้สนใจด้านแพทย์ทางเลือก
สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จะเกี่ยวข้องกับ ระบบวิสาหกิจชุมชน หรือ OTOP เป็นการบริหารจัดการชุมชน การรวมกลุ่มเพื่อสร้างงานและบริหารทรัพยากรด้วยตัวเอง
สาขาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีเพื่อชุมชน จะเป็นการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในชุมชน เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มศักยภาพ และอำนวยความสะดวกในกิจกรรมของชุมชน เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ แก๊ซหุ้งต้มจากมูลสัตว์ การผลิตไบโอดีเซล ปุ๋ยอินทรีย์อนุภาคนาโนช่วยเพิ่มผลผลิต เป็นต้น โดยการสนับสนุนของ สวทช. ที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้
---สวทช. http://www.nstda.or.th/index.php
ส่วนหลักสูตร ป.โท จะมีเป้าหมายเพื่อสร้างนักพัฒนา นักวิจัย นักยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาท้องถิ่น ทั้งด้านสาธารณสุข และการจัดการชุมชน
ตัวอย่าง การวิจัย โครงการพัฒนา อบต. --- อบต. พอเพียง
ผู้จบการศึกษาทั้ง 5 หลักสูตร จะได้รับปริญญา ที่มีศักดิ์และสิทธิ แห่งปริญญานั้นทุกประการ
ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น