คืนสู่รากเหง้า
ผม (ผู้เขียน) เคยได้ร่วมงานกับ คุณปุ้ม พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ณ Pub แห่งหนึ่งแถว สุขุมวิท ในฐานะ ผู้ควบคุมเสียง (Sound Engineer) ในการแสดงสดของวง Dynamic ซึ่งคุณปุ้ม เป็นมือคีบอร์ด มีคุณสุรสี อิทธิกุล และ คุณชาตรี คงสุวรรณ เป็นมือกีตาร์ เล่นเพลงในแนว Rock ในช่วงปี 1970-1980 ผมเป็น Sound Man ประจำ Pub แห่งนั้น มีวงดนตรีหลายวงที่เล่นที่นี้ เช่น วง Isn’t, วง Beatles Nut ซึ่งส่วนมากจะเป็นนักดนตรีที่เป็น Producer ในวงการเพลงบ้านเรา
ณ วันนั้น คุณปุ้ม มีบุคลิกแบบนักดนตรี Rock ตามแนวเพลงที่เล่น และในวันนี้ผมได้เห็นเขาในทีวี ช่องทีวีไทย เขาไว้เคราและใส่ชุดเหมือนชาวเขาทางเหนือ พร้อมกับได้สาธิตการเล่น ซึง เครื่องสายของทางเหนือ ที่มีการดัดแปลงให้ใช้งานง่ายขึ้น บุคลิกเปลี่ยนไปคนละขั้วเลย
คุณปุ้ม เล่าที่มาที่ไปในรายการทีวี ในโครงการ Siamese Project - Genome Music ที่ได้ออกเดินทางไปในหลายประเทศในเอเชีย เพื่อทำสารคดีเกี่ยวกับเพลงของชาวเอเชีย ซึ่งมีข้อมูลที่ถูกต้องน้อยมาก เพราะโดยมากฝรั่งเป็นคนรวบรวมข้อมูล และมีบางส่วนผิดเพี้ยนไปจากความจริง
อย่างเช่น ดนตรีของอินโดนีเซีย มีบันไดเสียง (Scale) แบบ 33 เสียง ซึ่งดนตรีสากลแบบยุโรป (Classical Music) ไม่สามารถเล่นเสียงแบบอินโดฯ ได้ เพราะดนตรียุโรปมีเพียง 12 เสียง คุณปุ้มเล่า
คุณปุ้ม เล่นดนตรีสากลแบบอเมริกัน (American Music) มาตลอดชีวิต ด้วยความที่สนใจดนตรีพื้นบ้านเป็นทุนเดิมทำให้เกิดโครงการดังกล่าวขึ้น ซึ่งแนวคิดของ ม.ชีวิต เราใช้คำว่า คืนสู่รากเหง้า เพื่อสืบค้นความเป็นมาของบรรพบุรุษ หรือเพื่อค้นหาคำตอบอะไรบางอย่าง
สำหรับ ม.ชีวิต เราต้องการให้เห็นความสำคัญของทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเอง ให้นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับสังคมในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ วิถีชีวิต การใช้ชีวิตของปู่ย่าตายาย ที่ได้ถูกกลั่นกรองมาแล้วจากชีวิตจริง ซึ่งจะช่วยให้เรา กินเป็นอยู่เป็น คิดเป็นทำเป็น รู้จักการใช้ชีวิตอย่างมีสมดุล ไม่มากไปไม่น้อยไป ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและธรรมชาติ รู้จักการอยู้ร่ามกัน ช่วยเหลือกัน
โครงการ Genome Music
http://www.siameseproject.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น