ข่าวประชาสัมพันธ์ นักศึกษา ป.ตรี

-- หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สาขาสุขภาพชุมชน และ สาขาการจัดการการเกษตรยั่งยืน เรียน 3 ปี จบ รับผู้จบ ม.6 ทุกสาขา ไม่จำกัดอายุ 60ปี ก็เรียนได้ ผู้ที่ยังไม่จบ ม.6 สามารถลงทะเบียนเรียนได้ สองรายวิชา

-- หลักสูตร ป.ตรี -- หลักสูตรแบบบูรณาการ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จิตใจ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง หลักสูตรสำหรับผู้ใหญ่ แห่งเดียวของไทย ไม่เรียนแบบท่องหนังสือไปสอบ

--- ผู้ที่สนใจเรียนกับ ม.ชีวิต สามารถแจ้งความจำนงเพื่อจะสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ปี 2558 ที่ศูนย์ขอนแก่น โทร.087-823-3149 ทั้ง ป.ตรี และ ป.โท

---------------------------------

ข่าวประชาสัมพันธ์ นักศึกษา ป.โท

-- หลักสูตร ป.โท -- หลักสูตรที่ให้คิดแบบเชิงระบบ (System Thinking) ขับเคลื่อนทั้งองคาพยพ (Organism) สร้างนักยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (Sustainable)

------ต้องการเรียน ป.โท ที่ จ.มหาสารคาม โทร.082-315-3500

-- ผู้สนใจศึกษาต่อ สามารถแจ้งความจำนงไว้ได้โดยกรอก ชื่อ-สกุล, อีเมล์, เบอร์โทรศัพท์ ที่ช่องส่งเมล์ ด้านขวามือ



- จ.ขอนแก่น เปิดศูนย์ที่ อ.เมือง,เขาสวนกวาง,กระนวน,ภูเวียง,ภูผาม่าน เท่านั้น จังหวัดใกล้เคียงได้แก่ มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, สกลนคร, นครราชสีมา, ชัยภูมิ-อ.คอนสาร เท่านั้น ที่อื่นนอกจากนี้ไม่ใช่ศูนย์ของ ม.ชีวิต ดูข้อมูลเพิ่มเติมของสำนักงานใหญ่ และหมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์อื่นทั่วประเทศได้ที่แถบด้านขวามมือ


เพลงนิทานแผ่นดิน
ศ.นพ.ประเวศ วะสี แนะนำ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

facebook

facebook
คลิ๊ก: ข่าวสารและภาพกิจกรรม ป.โท ขอนแก่น-ชัยภูมิ

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ดร.เสรี อบรม พฤศจิกายน 54



ดร.เสรี ได้บรรยายในการอบรมวันที่ 1-2 พ.ย. 54 ที่โรงแรมแม็ก กรุงเทพ โดยเริ่มที่คำสามคำ 3E

1. Education การศึกษา
2. Empowerment มีพลัง มีอำนาจ
3. Emancipation การปลดปล่อย จากการเป็นทาส จากอำนาจที่ครอบงำ

สังคมไทยจะต้องปฏิรูปการศึกษาด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ ไม่ตอบสนองเพียงภาคอุตสาหกรรม เพื่อการเป็นเพียงลูกจ้างรับใช้นายทุนและระบบทุนนิยม “เป็นการศึกษาที่ทอดทิ้งชุมชน” ตามที่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี กล่าว

ควรสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ ไม่ท่องจำเพื่อไปสอบ ต้องคิดเป็น มีกรอบความคิด (Concetual framework) นักศึกษาต้องสร้างความรู้ใหม่ได้ เพื่อตอบสนองบริบทของท้องถิ่นตนเอง เรียนรู้แบบเชิงรุก แบบอัตนัย คิดเชิงระบบไม่แยกส่วน ไม่ใช่จำเอาไปตอบ จำเอาไปใช้แบบสำเร็จรูป แบบปรนัย ซึ่งเป็นการคิดแยกส่วน เชื่อมโยงองค์ความรู้ไม่ได้ เพราะชีวิตมีความซับซ้อนมากกว่าที่จะใช้การแก้ไขปัญหาแบบสำเร็จรูปได้



เมื่อประชาชนมีความรู้ ก็สามารถคิดเองได้ แก้ปัญหาเองได้ มีพลังที่จะปลอดปล่อยตนเองจากหนี้สิน และการครอบงำทางการเมือง นายทุน และ ระบบทุนนิยม ที่คอยกำหนดแนวทางให้ประชาชนเดินไปตามที่เขาต้องการ แบบไม่มีทางเลือก เหมือนต้นไม้ที่อยู่ในกระถาง มิอาจเติบโตไปได้ พลังแห่งความรู้จะสามารถพังกระถางที่ปิดกันการเจริญเติบโต และเสรีภาพที่จะคิดเอง ทำเองได้ ฉนัยเลยเราต้องเป็นนกที่อยู่ในกรง รอคนมาให้อาหาร ในเมื่อนกจะต้องโบยบินสู่ฟากฟ้าสีคราม

ในช่วงน้ำท่วมมีการใช้คำว่า บูรณาการ บ่อยครั้งมาก ว่าจะแก้ปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการ เอาอยู่ๆ คำว่าบูรณาการ (Integration) สัมพันธ์กับหลายๆ คำ เช่น องคาพยพ, องค์รวม, เครือข่าย, ระบบนิเวศ, synergy, cluster เป็นคำที่อาจารย์ทุกท่านควรจะทำความเข้าใจ และอยากจะให้นักการเมืองเข้าใจด้วย ไม่ใช่จะพูดๆ ไปโดยไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ

“ทำไมน้ำท่วมครั้งนี้ถึงแพงนัก” ประชาชน 12-15 ล้านคน ในกรุงเทพและปริมณฑลได้รับความเดือนร้อนจากน้ำท่วม เป็นไปได้ไหมที่จะให้ประชาชนกลับไปอยู่ที่บ้านเกิดของตนเอง ไม่ต้องทิ้งถิ่น ทิ้งบ้าน พ่อแม่ ครอบครัว มาหางานในเมืองหลวง ทำงานเหมือนหุ่นยนต์ ทำงานแบบงานประจำซ้ำๆ ทุกวัน แบบรูทีน (Routine) “ขอโทษนะครับ รูทีน ไม่ใช่ รูตีน” ดร.เสรี กล่าว


เรียบเรียง: LU KK


ปล.

ดร.เสรี ได้กล่าวถึง ความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทย ซึ่งประชาชนเราก็ทราบดี ว่าเรามีพืชพรรณธัญญาหารมากมาย ผลไม้มีหลากหลายชนิด ซึ่งหลายประเทศไม่มีมากมายเท่าเรา ประเทศเรามีทรัพยากรมากมายที่จะนำมาใช้ประโยชน์ แต่เรานึกออกแต่ทรัพยากรที่เป็นตัวเงิน

นักศึกษา ป.โท ศรป.ขอนแก่น เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า มีพี่เขยชาวออสเตเลีย มาเห็นผลไม้ของไทยหลายชนิด ราคาถูกมากเมื่อเทียบกับประเทศของเขา ไทยขายหลักสิบ ที่โน้นต้องซื้อในราคาหลักร้อยขึ้นไป เห็นอะไรก็อยากกินอยากซื้อไปหมด พี่เขยชาวต่างชาติทำโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไปเห็นไม้แปรรูปที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ไม้แผ่นเดียวกว้างประมาณสองเมตรกว่า ทำโต๊ะประชุมได้สบายๆ ที่ประเทศเขาไม่มีโอกาสได้เห็น เขามีแต่ไม่อัดต่อกันไม่รู้กี่ชิ้นถ้าจะให่ได้โต๊ะขนาดเดียวกันนี้


--- เพาเวอร์พอย คำบรรยาย ดร.เสรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น