บทความนี้ สรุปความและเรียบเรียงจากแนวคิดของ โครงการต้นกล้าอาชีพ (หลักสูตรวิสาหกิจชุมชน), มหาวิทยาลัยชีวิต และ อปท. พอเพียง (องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น) ภายใต้เจ้าของโครงการทั้งหมดนี้คือ มูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (สสวช.) โดยมี รศ.ดร. เสรี พงศ์พิศ เป็นผู้อำนวยการ
ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็ก และสำคัญที่สุดของสังคม ด้วยภาวะปัจจุบันคนไหลไปตามกระแสบริโภคนิยม ต้องการหาเงินให้ได้มากขึ้น จึงทิ้งท้องถิ่นของตนเองเข้าไปทำงานในเมืองใหญ่ และทิ้งลูก ทิ้งครอบครัวไว้ ให้ปูยาตายายดูแล ครอบครัวจึงไม่สมบูรณ์ ชุมชนเกษตรกรขาดแรงงานช่วยทำงาน ชุมชนเมืองลูกขาดความอบอุ่น
โครงการทั้งหมดของ สสวช. นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นต้นแบบของหลักสูตร และแผนแม่บทชุมชน โดยมีแผนหลักๆ 4 แผน ได้แก่ แผนชีวิต แผนการเงิน แผนสุขภาพ และแผนอาชีพ โครงการต้นกล้า และมหาวิทยาลัยชีวิต เป็นการให้ความรู้แก่คนในชุมชน ให้พึ่งพาตนเองได้ สามารถทำกินทำใช้เองได้ ไม่ต้องซื้อกินซื้อใช้ทั้งหมด จัดการชีวิตตนเองได้ตามแผน 4 แผน ไม่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ที่เมื่อราคาตกก็ต้องออกมาเรียกร้องความช่วยเหลือจากรัฐ แก้ไขปัญหาเองไม่ได้ต้องหวังพึ่งพาคนอื่นมากกว่าพึ่งตนเอง หันมาปลูกไร่นาสวนผสม ปลูกผักผลไม้ไว้กินเอง ปลูกข้าวแบ่งไว้กิน ที่เหลือก็ขาย ทำเกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี เพื่อให้ทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน
ส่วน อปท. พอเพียง นำแนวคิดที่กล่าวข้างต้น มาทำในระบบชุมชน โดยการวิจัยเศรษฐกิจชุมชน ว่าชุมชนมีรายจ่าย รายได้เท่าไหร่ เป็นหนี้เท่าไหร่ ชุมชนมีทรัพยากรอะไรที่จะนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ และนำรูปแบบการให้ความรู้จากหลักสูตร ม.ชีวิต ลงไปใช้กับชุมชน และทำไปตามแผนแม่บทชุมชนที่ได้จัดทำไว้ แต่ล่ะกิจกรรมที่ชุมชนทำขึ้นจะตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น โรงสีชุมชน ปุ๋ยชีวภาพ น้ำดื่ม แก๊สชีวภาพ ไบโอดีเซล ปั่นอิฐ ปลาร้า ยาสมุนไพร เมื่อสิ่งจำเป็นมีในชุมชน ก็ไม่จำเป็นต้องไปซื้อหามาจากที่อื่น
เมื่อคนในชุมชน ทำกินทำใช้เองได้ ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง รายได้เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ที่ร่วมกันทำ ก็สามารถชำระหนี้ได้ สุขภาพแข็งแรงจากแผนสุขภาพ ชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เกิดเครือข่ายชุมชน ที่มีพลังต่อรองกับตลาดทุนนิยม
ขณะนี้เรามี ศูนย์ต้นกล้าและ ม.ชีวิต รวมกันประมาณ 400 ศูนย์ทั่วประเทศ และ อปท. พอเพียง รุ่นที่ 1 ได้ดำเนินการไปแล้ว ขณะนี้กำลังเริ่มดำเนินการในรุ่นที่ 2
และเมื่อประชาชนมีความรู้ ก็เกิดปัญญา ช่วยตัวเองได้ ช่วยคนอื่นได้ ชุมชนเข้มแข็ง สังคมก็เข้มแข็ง แล้วคุณคิดว่า ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ครับ
By LU KK
..
“สุขภาพดี ไม่ใช่เพียงไม่มีโรค แต่หมายถึงการอยู่ดี กินดี ทำงานดี มีหลักประกัน ชีวิตมั่นคง จิตวิญญาณเข้มแข็ง”
ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็ก และสำคัญที่สุดของสังคม ด้วยภาวะปัจจุบันคนไหลไปตามกระแสบริโภคนิยม ต้องการหาเงินให้ได้มากขึ้น จึงทิ้งท้องถิ่นของตนเองเข้าไปทำงานในเมืองใหญ่ และทิ้งลูก ทิ้งครอบครัวไว้ ให้ปูยาตายายดูแล ครอบครัวจึงไม่สมบูรณ์ ชุมชนเกษตรกรขาดแรงงานช่วยทำงาน ชุมชนเมืองลูกขาดความอบอุ่น
โครงการทั้งหมดของ สสวช. นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นต้นแบบของหลักสูตร และแผนแม่บทชุมชน โดยมีแผนหลักๆ 4 แผน ได้แก่ แผนชีวิต แผนการเงิน แผนสุขภาพ และแผนอาชีพ โครงการต้นกล้า และมหาวิทยาลัยชีวิต เป็นการให้ความรู้แก่คนในชุมชน ให้พึ่งพาตนเองได้ สามารถทำกินทำใช้เองได้ ไม่ต้องซื้อกินซื้อใช้ทั้งหมด จัดการชีวิตตนเองได้ตามแผน 4 แผน ไม่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ที่เมื่อราคาตกก็ต้องออกมาเรียกร้องความช่วยเหลือจากรัฐ แก้ไขปัญหาเองไม่ได้ต้องหวังพึ่งพาคนอื่นมากกว่าพึ่งตนเอง หันมาปลูกไร่นาสวนผสม ปลูกผักผลไม้ไว้กินเอง ปลูกข้าวแบ่งไว้กิน ที่เหลือก็ขาย ทำเกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี เพื่อให้ทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน
ส่วน อปท. พอเพียง นำแนวคิดที่กล่าวข้างต้น มาทำในระบบชุมชน โดยการวิจัยเศรษฐกิจชุมชน ว่าชุมชนมีรายจ่าย รายได้เท่าไหร่ เป็นหนี้เท่าไหร่ ชุมชนมีทรัพยากรอะไรที่จะนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ และนำรูปแบบการให้ความรู้จากหลักสูตร ม.ชีวิต ลงไปใช้กับชุมชน และทำไปตามแผนแม่บทชุมชนที่ได้จัดทำไว้ แต่ล่ะกิจกรรมที่ชุมชนทำขึ้นจะตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น โรงสีชุมชน ปุ๋ยชีวภาพ น้ำดื่ม แก๊สชีวภาพ ไบโอดีเซล ปั่นอิฐ ปลาร้า ยาสมุนไพร เมื่อสิ่งจำเป็นมีในชุมชน ก็ไม่จำเป็นต้องไปซื้อหามาจากที่อื่น
เมื่อคนในชุมชน ทำกินทำใช้เองได้ ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง รายได้เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ที่ร่วมกันทำ ก็สามารถชำระหนี้ได้ สุขภาพแข็งแรงจากแผนสุขภาพ ชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เกิดเครือข่ายชุมชน ที่มีพลังต่อรองกับตลาดทุนนิยม
ขณะนี้เรามี ศูนย์ต้นกล้าและ ม.ชีวิต รวมกันประมาณ 400 ศูนย์ทั่วประเทศ และ อปท. พอเพียง รุ่นที่ 1 ได้ดำเนินการไปแล้ว ขณะนี้กำลังเริ่มดำเนินการในรุ่นที่ 2
และเมื่อประชาชนมีความรู้ ก็เกิดปัญญา ช่วยตัวเองได้ ช่วยคนอื่นได้ ชุมชนเข้มแข็ง สังคมก็เข้มแข็ง แล้วคุณคิดว่า ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ครับ
By LU KK
..
“สุขภาพดี ไม่ใช่เพียงไม่มีโรค แต่หมายถึงการอยู่ดี กินดี ทำงานดี มีหลักประกัน ชีวิตมั่นคง จิตวิญญาณเข้มแข็ง”
.
“การเรียนรู้ไม่ใช่เพียงการไปโรงเรียน แต่หมายถึงการแสวงหาความรู้ กับทุกคนที่มีความรู้ และร่วมกันรังสรรค์ความรู้ใหม่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด”
“การเรียนรู้ไม่ใช่เพียงการไปโรงเรียน แต่หมายถึงการแสวงหาความรู้ กับทุกคนที่มีความรู้ และร่วมกันรังสรรค์ความรู้ใหม่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด”
.
-- เสรี พงศ์พิศ
-----น้ำทางเลือก ลดอัลกอฮอร์-- เสรี พงศ์พิศ
ไร่นาสวนผสม กาฬสินธุ์
.. ..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น