ข่าวประชาสัมพันธ์ นักศึกษา ป.ตรี

-- หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สาขาสุขภาพชุมชน และ สาขาการจัดการการเกษตรยั่งยืน เรียน 3 ปี จบ รับผู้จบ ม.6 ทุกสาขา ไม่จำกัดอายุ 60ปี ก็เรียนได้ ผู้ที่ยังไม่จบ ม.6 สามารถลงทะเบียนเรียนได้ สองรายวิชา

-- หลักสูตร ป.ตรี -- หลักสูตรแบบบูรณาการ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จิตใจ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง หลักสูตรสำหรับผู้ใหญ่ แห่งเดียวของไทย ไม่เรียนแบบท่องหนังสือไปสอบ

--- ผู้ที่สนใจเรียนกับ ม.ชีวิต สามารถแจ้งความจำนงเพื่อจะสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ปี 2558 ที่ศูนย์ขอนแก่น โทร.087-823-3149 ทั้ง ป.ตรี และ ป.โท

---------------------------------

ข่าวประชาสัมพันธ์ นักศึกษา ป.โท

-- หลักสูตร ป.โท -- หลักสูตรที่ให้คิดแบบเชิงระบบ (System Thinking) ขับเคลื่อนทั้งองคาพยพ (Organism) สร้างนักยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (Sustainable)

------ต้องการเรียน ป.โท ที่ จ.มหาสารคาม โทร.082-315-3500

-- ผู้สนใจศึกษาต่อ สามารถแจ้งความจำนงไว้ได้โดยกรอก ชื่อ-สกุล, อีเมล์, เบอร์โทรศัพท์ ที่ช่องส่งเมล์ ด้านขวามือ



- จ.ขอนแก่น เปิดศูนย์ที่ อ.เมือง,เขาสวนกวาง,กระนวน,ภูเวียง,ภูผาม่าน เท่านั้น จังหวัดใกล้เคียงได้แก่ มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, สกลนคร, นครราชสีมา, ชัยภูมิ-อ.คอนสาร เท่านั้น ที่อื่นนอกจากนี้ไม่ใช่ศูนย์ของ ม.ชีวิต ดูข้อมูลเพิ่มเติมของสำนักงานใหญ่ และหมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์อื่นทั่วประเทศได้ที่แถบด้านขวามมือ


เพลงนิทานแผ่นดิน
ศ.นพ.ประเวศ วะสี แนะนำ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

facebook

facebook
คลิ๊ก: ข่าวสารและภาพกิจกรรม ป.โท ขอนแก่น-ชัยภูมิ

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ครีมเทียม

ครีมเทียม

หนึ่งเดือนผ่านไป ก็ได้เวลานัดไปช็อปปิ้งของเราอีกแล้วใช่ไหมครับ เดือนนี้จะพาท่านผู้อ่านมารู้จักการอ่านฉลากครีมเทียมกัน ครีมเทียมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการสภากาแฟบ้านเราเมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา โดยพวกเรามักเรียกกันติดปากว่า “คอฟฟี่เมต” ซึ่งเป็นชื่อการค้า ก็เลยอาจสั่งลูกหลานให้ไปซื้อคอฟฟี่เมตยี่ห้อคูซ่าบ้าง ยี่ห้อบรูคส์บ้างก็ได้ ตามที่ตกลงกันไว้ในฉบับก่อนๆว่าสิ่งแรกที่เราลองสังเกตดู ก็คือ เครื่องหมาย อย. ซึ่งพบว่ามี 3 ชนิด คือ ผ.ค., ฉ.ผ.ค. และ ส.ค. แสดงว่า ครีมเทียม (แสดงโดยอักษร “ค”) มีการผลิตเองในประเทศทั้งในโรงงาน (ผ) และสถานประกอบการระดับเล็กกว่าโรงงาน (ฉ.ผ.) นอกจากนี้ยังมีการสั่งเข้าในแบบสำเร็จรูป (ส) อีกด้วย

ครีมเทียมถูกจัดเป็นอาหารประเภทควบคุมเฉพาะในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และกฎหมายได้ระบุคำจำกัดความของครีมเทียมไว้ดังนี้ “ผลิตภัณฑ์ที่มิได้ทำจากนมและมีไขมันอื่นนอกจากมันเนยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญหรือครีมที่มีมันเนยผสมอยู่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของไขมันทั้งหมด”

เอาล่ะครับ! งงกันตามกฎหมายแล้ว ลองมาดูของจริงกันบ้าง

ชนิดของครีมเทียม

ครีมเทียมถูกคิดค้นขึ้นมาให้พวกคอกาแฟทั้งหลาย ก็เพื่อความสะดวกเป็นหลัก เนื่องจากฝรั่งนิยมเติมครีมลงในเครื่องดื่มพวกกาแฟและโกโก้ อย่างไรก็ตาม ครีมชนิดพาสเจอไรซ์จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น ส่วนครีมกระป๋องก็มีใช้บ้าง แต่กลิ่นรสสู้ครีมพาสเจอไรซ์ไม่ได้ แถมสียังออกเหลืองหรือน้ำตาลอ่อนๆ อีกด้วย ครีมเทียมจึงเกิดขึ้นเพื่อความสะดวกและประหยัด เนื่องจากวัตถุดิบมีราคาถูกกว่า นอกจากนี้การขนย้ายในรูปผงแห้งทำให้ประหยัดค่าขนส่งได้เป็นอันมาก

กรดไขมันในครีมเทียม

คุณภาพที่ผู้ผลิตครีมเทียมต้องการเน้นให้เหมือนครีมแท้มากที่สุด คือ ความมัน ซึ่งสามารถอธิบายได้จากความรู้สึกที่ขาดหายไปเมื่อดื่มนมสดพร่องมันเนยเปรียบเทียบกับนมสดธรรมดา ความมันนี้เกิดจากไขมันเนย หรือไขมันที่มีคุณสมบัติใกล้เคียง คือ มีกรดไขมันประเภทอิ่มตัวในปริมาณสูง กล่าวง่ายๆ คือเป็นไขมันประเภทที่ใส่ตู้เย็นแล้วเป็นไข

ไขมันที่ใช้เป็นครีมเทียมมักเป็นไขมันพืชเพราะมีราคาถูก ที่นิยม คือ ไขมันมะพร้าว เนื่องจากประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณค่อนข้างสูงอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีระบุถึง น้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันจากเมล็ดปาล์ม บางยี่ห้อก็ว่ามีไขมันจากเมล็ดผ่านกรรมวิธี และบางยี่ห้อก็ว่าน้ำมันถั่วเหลือง ถ้าเราดูเผินๆ จะเห็นว่า ยี่ห้อที่ระบุว่า ใช้น้ำมันถั่วเหลืองและไขมันจากเมล็ดปาล์มน่าจะไม่เป็นพิษภัยกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด เนื่องจากชนิดของกรดไขมันในน้ำมันถั่วเหลืองไม่มีผลต่อการเพิ่ม หากยังลดการสร้างสารโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดด้วย ส่วนกรดไขมันในน้ำมันจากเมล็ดปาล์มก็ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดเหมือนเช่นกรดไขมันอิ่มตัวที่พบในไขมันเนยและมะพร้าวที่ก่อปัญหา

ลดโคเลสเตอรอลเลี่ยงครีมเทียม

ถ้าดูลึกๆ จากการอ่านศัพท์ภาษาอังกฤษข้างบรรจุภัณฑ์ด้วยจะพบว่า มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า “Partially hydrogenated” หรือ “Hydrogenated” อยู่ข้างหน้าคำว่า “น้ำมันถั่วเหลือง” หรือน้ำมันจากเมล็ดปาล์ม คำภาษาอังกฤษดังกล่าว หมายความว่า กรดไขมันในน้ำมันเหล่านั้นได้ผ่านกระบวนการทำให้อิ่มตัว แล้วกระบวนการนี้ทำให้รสชาติของครีมเทียมมีความมัน แต่ก็มีผลเสียต่อผู้มีปัญหาในเรื่องโคเลสเตอรอลสูงในกระแสเลือด ผมจึงเน้นว่าขอให้ศึกษาฉลากให้รอบคอบก่อนซื้อ และครีมเทียมในท้องตลาดส่วนใหญ่แทบทุกยี่ห้อไม่เหมาะสมกับผู้ที่กำลังควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด

อื่นๆ อีกมากมายในครีมเทียม

ส่วนผสมที่มีการเติมในครีมเทียมเกือบทุกยี่ห้อ คือ น้ำตาลข้าวโพด และบางยี่ห้อก็ระบุว่า กลูโคส แต่เมื่อได้อ่านคำบรรยายภาษาอังกฤษแล้วจึงทำให้ทราบว่า ไม่ได้มีการเติมน้ำตาลลงไปโดยตรง เป็นการเติมสารที่เรียกว่า กลูโคสไซรัป (glucose syrup) หรือแบะแซ นั่นเอง แบะแซที่บ้านเราทำจากแป้งมันสำปะหลัง ส่วนน้ำตาลข้าวโพดทำจากแป้งข้าวโพด

อันที่จริงการระบุว่า เป็นน้ำตาลข้าวโพดก็ไม่ตรงกับความจริงนัก เนื่องจากการผลิตไซรัปดังกล่าวทำโดยการย่อยโมเลกุลของแป้งเพียงบางส่วน มิใช่ย่อยจนกลายเป็นน้ำตาล ถ้าจะเปรียบโมเลกุลของแป้งให้ดูง่ายๆ ก็คล้ายๆ กับสร้อยไข่มุก โดยที่ไข่มุกแต่ละเม็ด ก็คือ น้ำตาลกลูโคส

การระบุว่า เติมน้ำตาลกลูโคสหรือน้ำตาลข้าวโพดตามภาษาไทยก็หมายความว่า เติมในรูปของเม็ดไข่มุก แต่ตามความจริงแล้วเติมในรูปของไซรัป ก็คือ สร้อยไข่มุกเส้นสั้นๆ ไม่ใช่เติมเป็นเม็ดไข่มุก

เฮ้อ! เขียนแล้วก็ปวดหัว เอาเป็นว่าการแปลฉลากตรงส่วนผสมนี้ก็ไม่ตรงกันระหว่างระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษอีก การเติมไซรัปลงไปก็ช่วยให้มีความข้นนิดหน่อยเวลาเติมในกาแฟ และยังใช้เป็นตัวกลางที่ใช้จับน้ำมันในช่วงการผลิตทำเป็นผงด้วย ส่วนผสมอื่นๆ เช่น เคซีน (โดยภาษาอังกฤษก็ระบุว่าเป็น sodium caseinate) ซึ่งเป็นโปรตีนที่สกัดจากน้ำนม หรือบางยี่ห้อก็ใช้โปรตีนพืชซึ่งก็คาดว่าคงเป็นโปรตีนจากถั่วเหลือง ปริมาณการผสมเคซีนในรูปโซเดียมเคซิเนตในครีมเทียมบางยี่ห้ออาจไม่สูงนัก แต่ก็เป็นจุดที่ผู้ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับความดันเลือดสูงและต้องการควบคุมปริมาณโซเดียมควรสังวรไว้ด้วย

นอกจากนี้ส่วนผสมอื่นๆ บางชนิดที่พบในส่วนฉลากภาษาอังกฤษ เช่น

สารโมโน, ไดกลีเซอร์ไรด์ (Mono, di-glycerides) เป็นตัวช่วยให้น้ำและน้ำมันรวมตัวกันได้เนียนขึ้น
สารไดเค-ออร์โทฟอสเฟต (di-k-orthophosphate) ช่วยในการปรับปรุงคุณภาพในแง่ความเป็นกรดด่าง
และสารเอ็นเอ ซิลิโคอะลูมิเนต (Na Silico aluminate) ช่วยทำให้ผงครีมเทียมไม่เกาะติดกันเป็นก้อน และเทง่าย
ท่านผู้อ่านคงเข้าใจถึงชนิดและประโยชน์ของส่วนผสมที่ใช้เติมลงในครีมเทียมพอสังเขปแล้ว ครีมเทียมเป็นผลิตภัณฑ์ที่สะดวกใช้ในการเติมลงในเครื่องดื่มประเภทต่างๆ หลายประเภทและยังให้ความอร่อยได้ไม่แพ้ครีมแท้ อย่างไรก็ตาม อยากจะย้ำให้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโคเลสเตอรรอล ความดันเลือดสูง ต้องศึกษาส่วนผสมอย่างลึกซึ้งและถ่องแท้ก่อนบริโภคผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ และอยากฝากถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาควรตรวจสอบการแปลฉลากให้ถี่ถ้วนกว่านี้ และมีการสื่อความหมายที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในผู้บริโภคบางกลุ่ม ซึ่งในระยะยาวอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพ

นอกจากนี้ยังอยากให้มีการระบุส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ทั้งหมด มิใช่เฉพาะส่วนประกอบหลัก เพราะส่วนประกอบบางชนิดอาจเติมในปริมาณต่ำจึงไม่ได้มีการระบุ แต่อาจมีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคบางกลุ่มได้

http://www.doctor.or.th/node/3204


Trans fat คืออะไร

เป็นไขมันจากพืชที่มนุษย์ผลิตขึ้นผ่านกระบวนการแปรรูปอาหาร (ขบวนการผลิตค่อนข้างวิทยาศาสตร์ไว้ค่อยขยายความต่อไป) ซึ่งขณะนี้งานวิจัยหลายฉบับ สรุปว่า มันเป็นไขมันชนิดร้ายแรงที่สุด คือ นอกจากจะไม่ให้ประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ยังไปทำลายไขมันดีที่ร่างกายสะสมไว้ใช้งานอีกด้วย อาหารที่ขายอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตกว่า 40 เปอร์เซนต์อุดมไปด้วย trans fat

ใครอยากรู้ไหมว่า อาหารประเภทไหนบ้าง เรามีลิสต์จดเก็บไว้ดูเล่นหมดล่ะ ถามว่าจะเผลอบริโภคเข้าปากไปได้จำนวนเท่าไหร่ถึงไม่ถือว่าอันตราย ตอบได้ทันทีว่า ไม่ควรกินเลยแม้แต่กรัมเดียว (ถ้าพลาดกินไปแค่ 1-2 กรัม/วัน ก็ยังพอวางใจกันได้อยู่บ้าง)

ฉะนั้นการที่เจ้าของโครงการ Ban Trans Fat ซึ่งเป็นท่านทนายเขาฟ้องร้องคุกกี้ดำ ๆ ด้วยเหตุที่ว่าผู้ผลิตปิดบังข้อมูลที่เป็นอันตรายไว้ และผู้บริโภคซึ่งเป็นเด็กไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็บริโภคกันเข้าไปเท่าไหร่แล้วไม่รู้ คดีฟ้องร้องคุกกี้ชนิดนี้ ผู้ฟ้องร้องไม่ต้องการค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่เรียกสักดอล์ลาร์หรือสักเซ็นต์เดียว ขอเพียงแค่เจ้าของผู้ผลิตคุกกี้ดำ ๆ คือบริษัท Kraft จะต้องเอา trans fat ออกจากคุกกี้ชนิดนี้ให้หมดสิ้นเท่านั้นเอง และคดีนี้ "ชนะ" เปิดฉากการต่อสู้ให้เกิดกฎหมาย ban trans fat กันคึกคักในหลายประเทศขณะนี้ ผลิตภัณฑ์ที่หลายประเทศห้ามสั่งเข้ามาขาย เพราะคือ trans fat ตัวร้ายกาจ คือ Shortening หรือ Crisco "เนยขาว" ที่เอามาทำขนม นม เนย หวานอร่อย เคลือบพิษไว้นั่นเอง ยังมีอีกมาก ข้อมูลโหด ๆ แบบนี้ เหอะ ๆ ใครสนใจจะไปอ่านให้ "หัวใจสั่น" เพิ่มเติมอีกได้ที่ http://www.bantransfats.com

เมื่อคดี "คุกกี้ดำ" ชนะ กฎหมายก็สั่งการให้มีการระบุ trans fat บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ทันที และผลิตภัณฑ์บางชนิดถูกห้ามใช้ trans fat โดยเด็ดขาด ฉะนั้นจึงทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องขวัญผวากินอะไรไม่ได้อีกต่อไป ทางเลือกที่จะทำให้เรารอดตาย ก็เพิ่มสูงมากขึ้น ทั้งนี้ ต้องขอบคุณคดี "คุกกี้ดำ" (ทนายเขาใช้วิธี "เขียนเสือ ให้วัวกลัว") ทำให้คนหลายคนบนโลกได้ตื่นขึ้นมาพร้อมความจริงข้อใหม่ว่า เราไม่ควรประมาท มั่นใจในสิ่งที่เรากินเข้าไปทุกวัน หากเราไม่ได้ปรุง ไม่ได้ทำมันกับมือตัวเอง

อะแฮ่ม และไม่ว่าใครก็ตามที่โชคดีไม่เคยกินคุกกี้ดำมาก่อน ก็ใช่ว่าจะรอดพ้นเจ้า trans fat นี้ได้ง่าย ๆ เพราะว่า trans fat เป็นส่วนผสมมากมายอยู่ทั้งในขนม นม เนยที่มีมาร์การีนเป็นส่วนประกอบ และของทอดที่ต้องใช้น้ำมันทั้งหลายแหล่
ผลิตภัณฑ์อาหารที่เสี่ยงต่อ Trans fat มีดังนี้เอย

- อาหารนอกบ้านที่ไปซื้อเขากิน เราไม่รู้แน่ชัดว่าส่วนผสมเขาใช้อะไรบ้าง ใช้เนยสด หรือใช้มาร์การีน หรือเนยเทียม ใช้น้ำมันประเภทอะไร ว่ากันว่าบรรดาอาหาร + ขนมไดเอททั้งหลายล้วนมี trans fat ผสมทั้งนั้น กินแล้วไม่อ้วน ไขมันจุกตาย แต่หัวใจสลาย เอ้ย ล้มเหลว เพราะ trans fat แทน (ตอนนี้มาแรงกว่าโรคใด ๆ)

- เค้ก บิสกิต คุกกี้ทุกชนิดที่ในสูตรมีเนยขาว ชอร์ทเทนนิ่งเป็นส่วนผสม ล้วนอุดมไปด้วย trans fat

- พวกขนมกรุบกรอบ-ซองๆ ของขบเคี้ยวกินเล่นทั้งหลาย อาทิ พวกมันฝรั่ง ต้องดูให้ดีว่าเขาใช้น้ำมันอะไรทอด เพราะนั่นก็ที่มาของ trans fat เช่นกัน (Frito Lay / Chee-tos / แครกเกอร์ไส้ชีส Ritz / ถั่วทอด ถั่วอบกรอบ เสี่ยงปริมาณ trans fat ทั้งสิ้น)

- คอฟฟี่เมท ครีมเทียม วิปครีม (ต้องเลือกดูตามฉลาก แต่ละยี่ห้อว่าเขาใช้ส่วนผสมอะไร)

- Crouton / น้ำสลัดสำเร็จรูป

- dips สำเร็จรูปทั้งหลาย

- ผงเกรวี่สำเร็จรูป / ซอสมิกซ์ต่าง ๆ

- อาหารแช่แข็งแบบสำเร็จรูปที่เอามาอุ่นในไมโครเวฟแล้วกินได้เลย (ก็เข้าข่าย)

- ซุปกระป๋อง / ซุปซองสำเร็จรูป / พีนัท บัตเตอร์ / ซีเรียลอาหารเช้า


อาหารที่แยกย่อยให้อ่านดูเหล่านี้ต่างมีมาร์การีน น้ำมันเป็นส่วนผสม หรือใช้ในการปรุง เราไม่อาจรู้ได้เลยว่า เขาใช้น้ำมันอะไร หากเขาไม่ระบุแน่ชัดบนฉลาก อาจมี trans fat ผสมอยู่ได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ใครที่ไม่เคยกินคุกกี้ดำ แต่เคยกินวิปครีม ไอศกรีม ครัวซอง พาย ทัพ ชีสเค้ก (ที่ใช้บิสกิต-คุกกี้ในส่วนที่เป็นครัสท์) ก็อาจเสร็จ trans fat มาแล้วทั้งนั้น พวกอาหาร fast food อาหารอุตสาหกรรมโรงงาน ขายด้วยปริมาณไม่เน้นคุณภาพ ตายห้าห้าห้า (หัวเราะก่อนตาย) เขาล่อ trans fat มาให้เราเผลอกินโดยไม่รู้ตัวทั้งนั้น เชื่อ/ไม่เชื่อไปดูตัวอย่างตารางเมนูอาหารที่ขายใน "แมคโดนัลด์" กันสิ กดลิงค์ดูกันจะ ๆ
http://www.mcdonalds.com/app_controller.nutrition.index1.html

ตะแคงหัวดูตรงส่วนที่เป็น trans fat สิว่า บิ๊ก-แมค ชีสเบอร์เกอร์ 1 ชิ้น มี trans fat ผสมอยู่เท่าไหร่

- เฟรนช์ฟรายขนาดใหญ่ 170 กรัม ... trans fat 8 กรัม

- พายแอปเปิ้ล 1 ชิ้น 77 กรัม ... trans fat 4.5 กรัม

- ไก่นักเก็ต 20 ชิ้น ... trans fat 5 กรัม


ข้อมูลที่เขาระบุไว้นี้ ไม่นานเท่าไหร่ เมื่อเดือน พ.ค. 2006 นี้เองนะ นี่เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งของ trans fat ตามร้านอาหาร (แค่แห่งเดียว) ที่เรา ๆ อาจไม่เคยรู้มาก่อน ยังมีร้านโดนัท ร้านพิซซ่า ร้านปอเปี๊ยะทอด ร้านหมี่ผัด take away chinese ทั้งหลายแหล่ที่เคยตรวจเจอ trans fat มาแล้วทั้งนั้น

อธิบายเพิ่มเติม ยิ่งน่ากลัวเข้าไปใหญ่เลยไหม? แต่ไม่ต้องตกใจไปหรอก น่าดีใจด้วยซ้ำที่ทนายเขาฟ้อง "คุกกี้ดำ" ชนะ ตอนนี้ผลิตภัณฑ์อาหารและร้านอาหาร "แหลกร่วน" ทั้งหลาย ถูกไล่ตรวจการใช้น้ำมัน-มาร์การีนในสินค้าว่ามี trans fat มากมายหรือไม่ ถ้าพบว่า มีมากมาย ก็ต้องถูกเปลี่ยนและเลี่ยงไม่ให้ใช้ทันที ที่สำคัญที่สุด หากไม่เปลี่ยนส่วนผสม ยังคงใช้ trans fat ต่อไป ก็ต้องระบุให้เห็นชัด ๆ ห้ามปกปิดผู้บริโภคอีกต่อไป

ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศเดียวที่ออกกฎหมายห้ามใช้ trans fat ในผลิตภัณฑ์ทุกชนิด แคนาดากำลังเดินหน้าปราบปราม trans fat ลำดับต่อไปประเทศในยุโรปหลาย ๆ ประเทศกำลังเร่งผลิตกฎหมายออกมาควบคุม

ส่วนเมืองไทยคืบหน้าไปถึงไหนไม่ทราบได้ รู้แต่ว่า อาหาร-เบเกอรี่อุตสาหกรรมที่วางขายทั่วไป ล้วนอุดมไปด้วย trans fat เกือบทั้งสิ้น แม่บ้านคนหนึ่ง (ในอเมริกา) เมื่อได้อ่านข้อมูล trans fat เธอไปเปิดคัพบอร์ดในครัว แล้วอ่านฉลากอย่างละเอียด ของที่เธอหยิบออกมาวางบนโต๊ะในรูป ล้วนมี trans fat ทั้งสิ้น...ดูซะให้เต็ม ๆ ตาว่า มันแฝงอยู่ในอาหารมากมายแค่ไหน ที่อเมริกาปัญหานี้ใหญ่โตนัก เพราะบริโภค fast food กันเป็นกิจวัตร และอาหาร diet ทั้งหลายที่โฆษณาว่าเลี่ยงใช้ไขมันที่ไม่ทำให้อ้วน ไม่เพิ่มแคลอรี่ แต่กลับอุดมไปด้วย trans fat ซึ่งเป็นไขมันชนิดที่ร้ายแรงที่สุดไว้แทน

นี่คือคำอธิบาย ไขมันทรานส์ ที่เราว่าเขียนอ่านง่ายที่สุดแล้ว เอามาจากเว็บคุณหมอ thaiclinic เคยเขียนตอบไว้ (trans = แปรสภาพ) เป็นไขมันที่คนเราทำขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ขบวนการสำคัญได้แก่ การเติมไฮโดรเจน (hydrogenation) ให้กับโมเลกุลของคาร์บอน การเติมไฮโดรเจนทำให้น้ำมันเหลวแปรสภาพกลายเป็นน้ำมันข้นขึ้น ขาวขึ้น และละลายหรือปนกับน้ำได้ง่ายขึ้น เก็บได้ง่ายที่อุณหภูมิห้อง ไม่เสียง่าย และเก็บได้นานขึ้น คำกล่าวที่ว่า น้ำกับน้ำมันไม่มีวันเข้ากันได้ จะเปลี่ยนไปก็ตอนนี้เอง

ถ้านำน้ำมันมาเติมไฮโดรเจนเข้า น้ำมันจะแขวนลอยในน้ำได้ เปรียบคล้ายสบู่ที่แขวนลอยอยู่ในน้ำได้ ครีมเทียมหรือคอฟฟี่เมตที่มีจำหน่ายประมาณครึ่งหนึ่งเป็นน้ำตาล อีกครึ่งหนึ่งเป็นไขมันเติมไฮโดรเจนไปบางส่วน ทำให้ไขมันบางส่วนแปรไปเป็นไขมันทรานส์


* ตัวอย่างไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์พบมากในครีมเทียม (คอฟฟี่เมต) เนยเทียม ขนมปังกรอบ (crackers) ขนมท้อฟฟี่ ขนมปังปิ้ง คุกกี้ ขนมสำเร็จรูป อาหารทอด สลัดน้ำข้น ฯลฯ

นอกจากนั้นการทำอาหารที่ใช้ความร้อนต่อเนื่องกันนาน ๆ หรือน้ำมันทอดที่ใช้ซ้ำหลายครั้ง เช่น กล้วยทอด มันทอด ฯลฯ มีส่วนทำให้เกิดไขมันทรานส์ได้ การใช้น้ำมันจึงควรใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ส่วนที่เหลือต่อไปนี้ กฎหมายกำลังจะออกมาบังคับให้ทุกสินค้าต้องแจกแจง trans fat เป้ง ๆ ห้ามปกปิดข้อมูลผู้บริโภคอีกต่อไป

http://en.wikipedia.org/wiki/Trans_fat


LU KK --- จากข้อมูล สรุปได้ว่า อะไรที่มีการแปรรูป ดัดแปลง หรือสังเคราะห์ แล้วออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกระบวนการผลิตที่มีหลายขั้นตอน ทำให้เกิดสิ่งที่ไม่เหมาะกับร่างกายมนุษย์ เพราะมันเปลี่ยนแปลงไปมากจากสภาพตั้งต้นที่เป็นธรรมชาติ

สำหรับ กาแฟ ก็ ใส่น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลที่ผ่านกระบวนการแปรรูปน้อยที่สุด ส่วนครีม ถ้าไม่ต้องการใช้ครีมเทียม ก็ใส่นมพร่องมันเนยจืด ก็น่าจะแทนกันได้นะครับ


-----หูถุง ช่วยลดโลกร้อน

.. ..

วันนี้เราลองมาฟังเพลงคลาสสิกกันบ้างครับ โดยไม่ต้องหาบันไดมาปีนฟัง เพราะดนตรีถูกสร้างมาเพื่อทุกคน (Music for Everyone)

ดนตรี เป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของมนุษยชาติเลยนะ สำหรับความคิดผม และดนตรีคลาสสิก (Classical Music – Europe Music) ซึ่งมีพัฒนาการมาประมาณ 1,500 ปี โดยมีการสืบทอดต่อกันมาของชาวยุโรปทั้งทวีป และมีการสร้างองค์ความรู้ จนพัฒนาและสร้างทฤษฎีออกมารองรับทุกเสียงที่เล่นออกมาอย่างเป็นระบบ และเป็นมรดกของชนชาติยุโรป รวมทั้งคนทั้งโลกด้วย

ส่วนในเอเชียของเรา ก็มีดนตรีในแบบของเราเอง เช่น ดนตรีไทยของเราก็มีองค์ความรู้และทฤษฎีต่างๆ เหมือนดนตรคลาสสิก แต่ไม่ได้ออกสู่ในวงกว้างเท่านั้นเอง และดนตรีเอเชียของเรา ต่างคนต่างสร้างขึ้นมา ไม่ได้สร้างเป็นองค์รวมเดียวกันเหมือนดนตรีคลาสสิก

ถึงแม้ว่าประเทศอเมริกาจะมีอายุเพียง 234 ปี (อายุเป็นพี่ กรุงเทพ ไม่กี่ปี) แต่ได้ทำสิ่งต่างๆ มากมายทั้งดีและไม่ดี แต่ในเรื่องดนตรี อเมริกาได้สร้างดนตรีแบบ American Music ขึ้นมา และมีอิทธิพลต่อโลกอย่างรวดเร็ว และยังเกิดดนตรีแนวใหม่ขึ้นมาอีกมากมาย

http://th.wikipedia.org/wiki/ดนตรีคลาสสิก



Paganini เป็นคีตกวีนักไวโอลิน ในยุคโรแมนติก (มีการใส่อารมณ์ความรู้สึกเข้าไปในเพลงด้วย เข้าใจว่าคำว่า รักโรแมติก น่าจะมาจากคำนี้แหละครับ)

http://th.wikipedia.org/wiki/นิกโคโล_ปากานินี

ผลงานเพลงนี้ เป็นแบบที่เรียกว่า Violin Concerto โดยมี ไวโอลิน เป็นเครื่องเดี่ยวที่ประชันกับวงออร์เคสตาร์ (Orchestra) ซึ่งเป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงการดนตรี

http://th.wikipedia.org/wiki/คอนแชร์โต

La Campanella by Paganini Violin



Yngwie Malmsteen - Far beyond the Sun (Live in Leningrad 1989)


Yngwie มือกีตาร์ชาวสวีเดน ที่มีพื้นฐานด้านดนตรีคลาสิกมาเป็นอย่างดีได้นำ ดนตรีร็อกแบบอเมริกา เข้ามาผสมกับดนตรีคลาสิก เกิดเป็นแนว Neo-Classic Rock ซึ่งเป็นส่วนนึงของเพลงแนว Heavy Metal โดยวิธีการเล่นกีตาร์ของเขาจะยึดตามแบบการเล่นไวโอลินของ พากานินิ


Queen - Bohemian Rhapsody


ส่วนวง Queen จากอังกฤษ เป็นวงในแนว Hard Rock ในเพลงนี้พวกเขานำเอาการร้องเพลงแบบ Opera มาผสมกับเพลงร็อก …สุดยอดมากเพลงนี้ หาไม่ได้อีกแล้ว

http://th.wikipedia.org/wiki/อุปรากร

ทั้ง Yngwie และ Queen เป็นชาวยุโรป มีเพลงคลาสสิกเป็นรากเหง้า จึงมีการผสมผสานของวัฒนธรรมใหม่กับเก่า ให้มีความร่วมสมัย


ดนตรีเป็นของทุกคนครับ ไม่มีการแบ่งชนชั้น ไม่แบ่งแยกภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นภาษาที่สามารถสื่อสารกันได้ทั่วโลก เป็นภาษาของโลก

โลกมนุษย์ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของจักรวาล


By LU KK




AgeLoc Technology & Antioxidant
สารต้านอนุมูลอิสระและชลอความชรา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น