ข่าวประชาสัมพันธ์ นักศึกษา ป.ตรี

-- หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สาขาสุขภาพชุมชน และ สาขาการจัดการการเกษตรยั่งยืน เรียน 3 ปี จบ รับผู้จบ ม.6 ทุกสาขา ไม่จำกัดอายุ 60ปี ก็เรียนได้ ผู้ที่ยังไม่จบ ม.6 สามารถลงทะเบียนเรียนได้ สองรายวิชา

-- หลักสูตร ป.ตรี -- หลักสูตรแบบบูรณาการ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จิตใจ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง หลักสูตรสำหรับผู้ใหญ่ แห่งเดียวของไทย ไม่เรียนแบบท่องหนังสือไปสอบ

--- ผู้ที่สนใจเรียนกับ ม.ชีวิต สามารถแจ้งความจำนงเพื่อจะสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ปี 2558 ที่ศูนย์ขอนแก่น โทร.087-823-3149 ทั้ง ป.ตรี และ ป.โท

---------------------------------

ข่าวประชาสัมพันธ์ นักศึกษา ป.โท

-- หลักสูตร ป.โท -- หลักสูตรที่ให้คิดแบบเชิงระบบ (System Thinking) ขับเคลื่อนทั้งองคาพยพ (Organism) สร้างนักยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (Sustainable)

------ต้องการเรียน ป.โท ที่ จ.มหาสารคาม โทร.082-315-3500

-- ผู้สนใจศึกษาต่อ สามารถแจ้งความจำนงไว้ได้โดยกรอก ชื่อ-สกุล, อีเมล์, เบอร์โทรศัพท์ ที่ช่องส่งเมล์ ด้านขวามือ



- จ.ขอนแก่น เปิดศูนย์ที่ อ.เมือง,เขาสวนกวาง,กระนวน,ภูเวียง,ภูผาม่าน เท่านั้น จังหวัดใกล้เคียงได้แก่ มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, สกลนคร, นครราชสีมา, ชัยภูมิ-อ.คอนสาร เท่านั้น ที่อื่นนอกจากนี้ไม่ใช่ศูนย์ของ ม.ชีวิต ดูข้อมูลเพิ่มเติมของสำนักงานใหญ่ และหมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์อื่นทั่วประเทศได้ที่แถบด้านขวามมือ


เพลงนิทานแผ่นดิน
ศ.นพ.ประเวศ วะสี แนะนำ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

facebook

facebook
คลิ๊ก: ข่าวสารและภาพกิจกรรม ป.โท ขอนแก่น-ชัยภูมิ

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บ้านเรียน ณ ศิลป์



บ้านเรียน ณ ศิลป์

โรงเรียนแบบวอลดอร์ฟ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

แนวคิดการศึกษาวอลดอร์ฟ (Waldorf Education) เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 80 ปีที่แล้วจากประเทศเยอรมัน แพร่หลายไปในทวีปยุโรปและอเมริกา ปัจจุบันมีโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรนี้มากกว่า 1,000 แห่ง รูปแบบการจัดการศึกษาเกิดจากแนวความคิดของ ”รูดอล์ฟ สไตเนอร์” (Rudolf Steiner, 1861-1925) ผู้เสนอหลักคิดเกี่ยวกับความหมายของชีวิตมนุษย์ ในศาสตร์ที่ชื่อว่า “มนุษยปรัชญา” (Anthroposophy) ด้วยคำ 3 คำนี้ (“Waldorf Education” – “Rudolf Steiner” – “Anthroposophy”) ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้อย่างมากมายจาก Google “ศาสตร์มนุษยปรัชญา” ของสไตเนอร์สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆออกไปได้หลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์(Homeophatic) การเกษตร (Biodynamic) และการศึกษา (Waldorf) เป็นต้น

การศึกษาวอลดอร์ฟมีมุมมองที่พื้นฐานของความเป็นมนุษย์อย่างเป็นองค์รวม แล้วออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อตอบสนองแนวคิดนั้น เป็นการศึกษาที่คำนึงถึงธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ในแต่ละวัย หาได้มีขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกระแสสังคมที่เน้นการแข่งขัน หรือตอบสนองความต้องการของพ่อแม่ที่ต้องการเห็นลูกตัวเล็กๆที่มีความสามารถเทียบเท่าผู้ใหญ่ การศึกษาวอลดอร์ฟเพียงต้องการให้สิ่งที่เหมาะสมกับวัยของเด็กตามแต่ละช่วงอายุ โดยมีการแบ่งช่วงของการเรียนรู้ชีวิตออกเป็น 3 ช่วงวัย คือ แรกเกิด-7 ปี, 7-14 ปี และ 14-21 ปี แล้วจึงมาแยกย่อยลงไปในรายละเอียดของแต่ละช่วงวัยอีกทีหนึ่ง ว่าพัฒนาการในแต่ละขวบปีที่เกิดขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างไร แล้วจึงจะได้รูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามมา

สำหรับวัย แรกเกิด - 7 ปีนั้น เด็กจะเรียนรู้โลกผ่านร่างกาย โดยการเฝ้าสังเกต การเลียนแบบ และการทำซ้ำ ดังนั้นเรื่องบางเรื่องที่ดูน่าเบื่อสำหรับผู้ใหญ่ กลับเป็นประสบการณ์การเรียนรู้อันมีค่าสำหรับเด็ก เด็กจะต้องการเวลาในการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆนานพอสมควรกว่าที่เขาจะสามารถย่อยประสบการณ์ต่างๆ ก่อนที่ความรู้นั้นจะประทับเข้าไปในตัวเด็ก “การทำซ้ำ” ในเรื่องที่พิจารณาแล้วว่าเหมาะสมผ่านตัวอย่างจากครูผู้มีประสบการณ์ในการมองเด็ก จะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถสร้างความสุข และความประทับใจต่อตัวเด็กได้ เพียงเท่านี้ก็พอแล้วสำหรับความต้องการในวัยนี้ เพียงเท่านี้ก็สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่จะปลูกฝังคุณธรรม และจิตสำนึกที่ดี ผ่านวินัยที่ไม่ใช่กรอบหรือกฏเกณฑ์บังคับแต่เป็นการปฏิบัติจริงผ่านท่วงทำนองและจังหวะที่เหมาะสมลงตัวอยู่เป็นประจำทุกๆวัน

ที่มา: http://www.oknation.net/blog/nasilp


เพื่อนผม มีลูกสองคน 4 ขวบ กับ 2 ขวบ ให้ลูกไปเรียนที่ บ้าน ณ ศิลป์ เล่าว่า ไม่อยากให้ลูกต้องเรียนพิเศษอะไรมากมาย เหมือนที่ลูกคนอื่นที่เขาทำกัน

ผมถามว่า แล้วจะให้เรียนถึงชั้นไหน ถึงจะให้ไปเรียนแบบหลักสูตรปกติ

เพื่อนบอก ก็เรียนไปเรื่อยๆ ก่อน เพราะลูกยังเล็กอยู่

เพื่อนอีกคนพูดว่า ถ้าเขามีลูกคงให้เรียนแบบหลักสูตรปกติ เพราะกลัวลูกมีเพื่อนน้อย กลัวลูกไม่มีเครือข่าย (Connection)

ผมเห็นมีคนเสริชหา โรงเรียนทางเลือก กันพอสมควร ก็ลองโทรไปตามเบอร์โทร ในภาพด้านบนนะครับ

By LU Khon Kaen


ภาพ เด็กๆ ทำนา
http://webboard.nasilp.com/index.php?topic=26.0







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น